วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันจันทร์ 24 ตุลาคม ที่  2559

 (เวลา 13.30-17.30)



*งดการเรียนการสอน เนื่องจากหยุดชดเชย วันปิยะมหาราช*

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันจันทร์ ที่ 17 ตุลาคม 2559

 (เวลา 13.30-17.30)

ความรู้ที่ได้รับ

ผลงานของเด็กแต่ละคนจะแสดงให้เห็นถึงความคิดของบุคคลนั้น โดยจะให้เด็กได้ไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ ครูจะต้องเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้แก่เด็ก เช่น 

- จัดเตรียมอุปกรณ์ที่หลากหลาย
-สื่อในการเรียนการสอนที่น่าสนใจและหลากหลาย
-กลวิธีในการสร้างภาพ
-กระตุ้นด้วยการใช้คำถาม คำถามสำหรับเด็ก ควรเป็นคำถามปรายเปิดให้เด็กได้คิดคำตอบได้หลากหลาย เมื่อเด็กได้ตอบแล้วจะเกิดความภาคภูมิใจและเชื่อมั่นในตนเอง
-ผลงานของเด็กทุกคนครูควรให้เด็กได้นำเสนอครบทุกคน
-เมื่อเด็กทำดี เราควรเสริมแรง อาจเป็นใช้คำชมเชยให้กำลังใจ และยอมรับความแตกต่างของแต่ละคน

สื่อความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • ภายในกลุ่มเลือก รูปทรงเรขาคณิต คนละ 1 รูปทรง จากนั้นให้ออกแบบเป็นรูปอะไรก็ได้ที่มีรูปทรงนั้นอยู่ โดยเราจะต้องให้เด็กได้เห็นชัดเจนในรูปทรงที่เราวาด 

วงกลม ออกแบบเป็นรูป หมู


 สี่เหลี่ยมคางหมู ออกแบบเป็นรูปเรือ


สามเหลี่ยม ออกแบบเป็นรูป หนู


สี่เหลี่ยม ออกแบบเป็นรูปโทรทัศน์


 สามเหลี่ยมด้านไม่เท่า ออกแบบเป็นรูป ไอศกรีม


 ห้าเหลี่ยม ออกแบบเป็น ดอกไม้


ทรงกระบอก ออกแบบเป็นแก้ว 


 วงรี ออกแบบเป็นหน้าคน 

หกเหลี่ยมออกแบบเป็น นาฬิกา 
สี่เหลี่ยมผืนผ้า ออกแบบเป็น ปู 

หลักการออกแบบ
- ออกแบบจากประสบการณ์เดิม สิ่งที่เคยเห็น 
- ออกแบบ จากประสบการณ์เดิมและ คิดริเริ่มมีความแตกต่าง
- ออกแบบจากประสบการณ์เดิม และ เชื่อมโยงสื่อถึงอารมณ์

  • นำรูปภาพที่ออกแบบมาระบายสีและตัดให้สวยงาม
 


  • นำมารวมกันเป็นเล่ม และคิดให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน  สื่อชิ้นนี้จะเป็นสื่อที่บูรณาการภาษา จะเป็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 

  • สื่อชิ้นบูรณาการคณิตศาสตร์ เด็กจะได้ทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปทรงเรขาคณิต คือ เราจะตัดรูปทรงต่างๆคละกันให้เด็กเลือกรูปทรงที่ถูกต้อง มาวางในรูปที่เป็นรูปทรงนั้น 


- สื่อชิ้นนี้อาจให้เด็กมีส่วนร่วม ในการวาดระบายสีภาพ 
- เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และยังบูรณาการ คณิตศาสตร์ และ ภาษาอังกฤษอีกด้วย


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การสร้างสื่อในการเรียนการสอนเราควรจะทำให้หลากหลาย บูรณาการได้หลายวิชา ในการจัดการเรียนการสอนครูก็ควรเป็นผู้อำนวยความสะดวกที่ดีให้แก่เด็ก สิ่งสำคัญ คือ ครูต้องยอมรับความแตกต่างของเด็กแต่ละคน และให้เด็กมีส่วนร่วม

การประเมินผล

ประเมินตนเอง 
แต่งกายเรียบร้อย ช่วยเพื่อนในกลุ่มทำงาน จดบันทึกเนื้อหาที่เรียน
ประเมินเพื่อน 
เพื่อนแต่ละกลุ่มมีความคิดหลากหลายกัน  ทำให้ออกแบบงานได้หลากหลาย
ประเมินอาจารย์ 
อาจารย์เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ใช้คำถามให้เราได้คิด และแนะนำเทคนิคต่างๆหลากหลาย 

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันจันทร์ ที่ 10 ตุลาคม 2559

 (เวลา 13.30-17.30)

ความรู้ที่ได้รับ

องค์ประกอบ ความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 

1. คิดริเริ่ม  ความคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำกันกับความคิดของคนอื่น และแตกต่างจากความคิดธรรมดา ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากการคิดจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้แปลกแตกต่างจากที่เคยเห็น หรือสามารถพลิกแพลงให้กลายเป็นสิ่งที่ไม่เคยคาดคิด ความคิดริเริ่มอาจเป็นการนำเอาความคิดเก่ามาปรุงแต่งผสมผสานจนเกิดเป็นของใหม่ ความคิดริเริ่มมีหลายระดับซึ่งอาจเป็นความคิดครั้งแรกที่เกิดขึ้นโดยไม่มีใครสอนแม้ความคิดนั้นจะมีผู้อื่นคิดไว้ก่อนแล้วก็ตาม

2. คิดคล่องแคล่ว  การคิดและทำสิ่งนั้นอยู่บ่อยๆ ปัจจัยที่ทำให้เกิดการคิดคล่องแคล่ว คือ 
       - รูปแบบหลากหลาย 
       - วัสดุอุปกรณ์หลากหลาย
       - วิธีการหลากหลาย 

3. คิดยืดหยุ่น ป็นความสามารถที่จะพยายามคิดได้หลายทางอย่างอิสระ หรือ ความสามารถในการดัดแปลงความรู้ หรือประสบการณให้เกิดประโยชน์หลายๆ ด้าน ซึ่งมีประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา ผู้ที่มีความยืดหยุ่นจะคิดดัดแปลงได้ไม่ซ้ำกัน

4. คิดละเอียดลออ หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเป็นขั้นตอน สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน หรือเป็นแผนงานที่สมบูรณ์ขึ้น ความคิดละเอียดละออจัดเป็นรายละเอียดที่นำมาตกแต่ง ขยายความคิดครั้งแรกให้สมบูรณ์ขึ้น

5. คิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถทางสมองของบุคคลที่จะคิดได้หลายทิศหลายทาง หรือคิดได้หลายคำตอบ และความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆโดยมีสิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดความคิดใหม่ต่อเนื่องกันไป และความคิดสร้างสรรค์นี้อาจเป็นความคิดใหม่ผสมผสานกับประสบการณ์ก็ได้


กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

กิจกรรม คือ สิ่งที่ให้เด็กได้ลงมือกระทำ การจัดกิจกรรมนั้นจะต้องให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ประกอบด้วย

สาระที่ควรเรียนรู้ 
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคลสถานที่และสิ่งแวดล้อม
3. ธรรมชาติรอบตัว
4. สิ่งต่างๆรอบตัว 

ประสบการณ์สำคัญ
1. ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
2. ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ - จิตใจ 
3. ส่งเสริมพัฒนาการด้านรสังคม
4. ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา

กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2. กิจกรรมสร้างสรรค์
3. กิจกรรมเสรี
4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
5. กิจกรรมกลางแจ้ง 
6. กิจกรรมเกมการศึกษา

ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 

1. กำหนดเรื่อง โดยการเลือกเรื่องนั้นต้องมีความสำคัญในชัวิตประจำวัน และมีผลกระทบกับเด็ก
2. นำหัวข้อเรื่องมาแตกองค์ความรู้ ต้องมีหัวข้อ คือ
          - ชื่อเรียก
          - ลักษณะ
          - การดำรงชีวิต
          - ประโยชน์ 
          - ข้อควรระวัง
3. เด็กลงมือปฎิบัติ ให้ได้รับประสบการณ์ทั้ง 4 ด้าน

ตัวอย่างกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ หน่วยแมลง

กิจกรรมมี 4 ฐาน 

1. สร้างแมลงจากแกนกระดาษชิชูสามารถดึงเลื่อนไปมาได้

  • บูรณาการได้ทั้ง คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ โดยได้ใช้ทักษะทางความคิดสร้างสรรค์ คือ           การคิดยืดหยุ่น


2. เป่าสีฟองสบู่ 

  • บูรณาหลักการวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงดันอากาศ โดยได้ใช้ทักษะทางความคิดสร้างสรรค์ คือ           การคิดริเริ่ม

3. ผีเสื้อปั้มมือ

  • บูรณการวิทยาศาสตร์เรื่อง ผีเสื้อ 


4. สร้างของเล่นวิทยาศาสตร์จากจานกระดาษ    เลือกทำ กบมีเสียง เป็นของเล่นที่ได้หลักวิทยาศาสตร์คือ การเกิดเสียง ซึ่งของเล่นชิ้นนี้เกิดเสียงได้เพราะฝา 2 ฝา มากระทบกันจึงทำให้เกิดเสียง โดยเราต้องอาศัยความรู้เดิม และ นำมาเชื่อมโยง
      

*กิจกรรมที่จัดนัั้นต้องให้เด็กได้เกิดความคิดที่แตกต่าง ให้เด็กได้เปรียบเทียบด้วยการสังเกต แล้วจึงเลือกตัดสินใจทำให้เกิดความรู้ใหม่*

พฤติกรรมของครูที่พึงประสงค์

1. รับฟังความคิดของเด็ก ไม่ปิดกั้นความคิดของเด็ก
2. ไม่พูดให้เด็กเสียกำลังใจ
3. ยอมรับความแตกต่างของเด็กแต่ละคน
4. ให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ได้ความรู้หลักการจัดกิจกรรมศิลปะส้รางสรรค์ให้เด็ก และกิจกรรมที่ได้ทำนั้นเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ ใช้วัสดุอุปกรณ์ใกล้ตัว สามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมในอนาคตได้

การประเมินผล

ประเมินตนเอง 
มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจร่วมกิจกรรม 
ประเมินเพื่อน 
เพื่อนๆมีความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลายต่างกัน ผลงานที่ออกมาสวยงาม
ประเมินอาจารย์ 
อาจารย์เตรียมพร้อมในการสอน อธิบายละเอียด คอยแนะนำสิ่งต่างๆ