วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันจันทร์ ที่ 12 กันยายน 2559

 (เวลา 13.30-17.30)

ความรู้ที่ได้รับ

  • วันนี้เป็นการเรียนรวมกันทั้ง 2 เซค เริ่มต้นการเรียนการสอนโดยทบทวนเพลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 
  • เข้าสู่เนื้อหาการเรียนการสอน เรื่อง STEM / STEAM Education

STEM
-เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
-นำลักษณะทางธรรมชาติของแต่ละสาระวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
-เน้นการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน

STEM Education (สะเต็มศึกษา)
Science = วิทยาสศาสตร์
Technology = เทคโนโลยี
Engineering = วิศวกรรมศาสตร์
Mathematics = คณิตศาสตร์
Science (วิทยาศาสตร์)
การเรียนรู้เรื่องราวของธรรมชาติ เช่น ปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยผ่านกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบซึ่งวิทยาศาสตร์นั้นมีเป้าหมายหลักเพื่อใช้อธิบายกฎเกณฑ์หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ตามธรรมชาติโดยใช้หลักและระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์
Technology (เทคโนโลยี)
วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม สิ่งที่เราสร้างหรือพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต ไม่ใช่มีความหมายเพียงแค่คอมพิวเตอร์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงสิ่งประดิษฐ์ตามยุคสมัยต่าง ๆ อย่างเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือรวมไปถึงเครื่องใช้ทั่วไปอย่าง ยางลบ, มีด, กรรไกรกบเหลาดินสอ เป็นต้น
Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
ทักษะกระบวนการในการออกแบบ สร้างแบบ รวมไปถึงการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยการใช้องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ มาสร้างสรรค์ออกแบบผลงานที่ใช้งานได้จริง กระบวนการในการทำงานของวิศวกรรมศาสตร์นั้น สามารถนำมาบูรณาการกับหลักแนวคิดของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ได้ ช่วยส่งเสริมทำให้เกิดการพัฒนาทางความคิดออกแบบสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น

Mathematic (คณิตศาสตร์)
วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของการคำนวณ เป็นการเรียนรู้ในเรื่องราวของจำนวน ตัวเลข รูปแบบ ปริมาตร รูปทรงต่างๆ รวมไปถึงแบบรูปและความสัมพันธ์ (พีชคณิต) ฯลฯ ทักษะทางคณิตศาสตร์นี้เป็นทักษะที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกแขนงวิชา เพราะเป็นศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ มีความแม่นยำ เรายังสามารถพบคณิตศาสตร์ได้ในชีวิตประจำวันของเราแทบจะทุกที่ทุกเวลาอีกด้วย

STEM กับการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
“STEM” แทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น หรือเลือกตามหน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย จะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนในห้องมากขึ้น
การศึกษาแบบ “STEM” เป็นการศึกษาที่ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำ ปฏิบัติจริง ทดลอง สืบค้น และใช้วัสดุอุปกรณ์
ทำให้เด็กได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ได้รับความสนุกสนาน และมีความสนใจในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น 

  • ตัวอย่างการนำ STEM มาใช้ในการเรียนการสอนเด็กปฐมวัย
STEM นมมาจากไหน? >> นมมาจากวัว


Science (วิทยาศาสตร์)
วัวมีลักษณะอย่างไร? เจริญเติบโตได้อย่างไร? นมมาจากไหน? 

Technology (เทคโนโลยี)
สืบค้นข้อมูลการรีดนมวัว สืบค้นภาพอุปกรณ์รีดนมวัว นมอัดเม็ด 

Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
ออกแบบกล่องนมหรือขวดนม ออกแบบฟาร์มเลี้ยงวัว

Mathematic (คณิตศาสตร์)
ความจุของกล่องนม วันหมดอายุ ขนาดของกล่องนม ราคา


STEAM Education (สะตีมศึกษา)
Science = วิทยาสศาสตร์
Technology = เทคโนโลยี
Engineering = วิศวกรรมศาสตร์
Art = ศิลปะ 
Mathematics = คณิตศาสตร์
STEAM แตกต่างจาก STEM ตรงที่มี ศิลปะเพิ่มขึ้นมา 
ตัวอย่าง
ผีเสื้อ
Science (วิทยาศาสตร์)
วงจรชีวิต การเจริญเติบโต สายพันธ์

Technology (เทคโนโลยี)
หนอนไหม

Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
ส้รางกรงเลี้ยงหนอน สร้างกรงเลี้ยงผีเสื้อ

Art(ศิลปะ)
วาดภาพผีเสื้อ ปั้นหนอน หน้ากากผีเสื้อ 

Mathematic (คณิตศาสตร์)
ขนาดของผีเสื้อ จำนวนอวัยวะของผีเสื้อ


กิจกรรม ตกแต่งจานกระดาษผีเสื้อ


ขั้นตอนแรก เราต้องแนะนำอุปกรณ์ให้เด็กดูก่อน โดยมีอุปกรณ์ ดังนี้

1. จานกระดาษ
2. สีเทียน
3. ไม้ไอศกรีม
4. กาวสองหน้า
5. กรรไกร

จากนั้นเริ่มลงมือได้ โดยวาดและตัดรูปทรงผีเสื้อที่เราต้องการ พร้อมตกแต่งระบายสีให้สวยงาม และนำไม้ไอศกรีมมาเป็นลำตัวของผีเสื้อ 

ผีเสื้อของเรา


กิจกรรมสร้างกรงเลี้ยงผีเสื้อ 


อุปกรณ์ มีดีงนี้ 
1. กิ่งไม้แห้ง
2. ใบไม้และดอกไม้
3. ผ้าบาง
4. เชือก


เราจะเริ่มส้รางกรงโดยออกแบบตามความคิดสร้างสรรค์ นำกิ่งไม้แห้งมาต่อกันแล้วตกแต่งกรงผีเสื้อของเราให้สวยงาม
 
กรงผีเสื้อของกลุ่มเราเสร็จแล้ว 

กิจกรรม Stop Motion 
โดยมีอุปกรณ์ คือ ดินน้ำมัน ให้เราส้ราง Stop Motion เกี่ยวกับ วงจรชีวิตของผีเสื้อ ใช้ทักษะการปั้นและสามารถออกแบบได้หลากหลายตามจินตนาการ

 
 
หนอนกลุ่มเราน่ารัก



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ความรู้ STEM และ STEAM เป็นความรู้ใหม่ที่เราสามารถนำไปบูรณาการให้สอดคล้องกับเรื่องหรือหน่วยนั้นๆได้ โดย 1 เรื่อง เด็กสามารถได้รับความรู้หลายวิชา และเด็กได้ลงมือปฏิบัติ

การประเมินผล

ประเมินตนเอง 
ตั้งใจเรียน มาเรียนตรงเวลา ช่วยเพื่อนๆคิดงานในกลุ่ม
ประเมินเพื่อน 
เพื่อนๆทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์หลากหลาย ตั้งใจประดิษฐ์ชิ้นงานและออกมาสวยงาม
ประเมินอาจารย์ 
อาจารย์สอนสนุก สอนได้เข้าใจง่าย และให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเพื่อให้รู้แนวทางในการจัดกิจกรรมให้เด็ก

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันจันทร์ ที่ 5 กันยายน 2559

 (เวลา 13.30-17.30)

ความรู้ที่ได้รับ
  • เริ่มต้นการเรียนการสอนโดยการดูวีดีโอที่สะท้อนสังคมไทยในการขึ้นรถเมลล์ และทบทวนเพลงภาษาอังกฤษจากสัปดาห์ที่แล้ว



กิจกรรม Marshmallow Tower


กิจกรรม Marshmallow Tower   เป็นกิจกรรมกลุ่มให้เราใช้ไม้จิ้มฟันกับเดินน้ำมันต่อกันให้สูงที่สุด 

อุปกรณ์ มีดังนี้ ไม่จิ้มฟัน ดินน้ำมัน กระดาษ

อาจารย์ตั้งเงื่อนไข คือ ครั้งแรกห้ามสมาชิกในกลุ่มปรึกษากันและห้ามพูด ครั้งที่สองให้ตั้งหัวหน้ากลุ่มและให้หัวหน้ากลุ่มพูดได้คนเดียว ครั้งสุดท้ายให้ทุกคนช่วยกันคิดและปรึกษากันได้ ปรากฏว่าส่วนใหญ่ครั้งสุดท้ายจะต่อได้สูงกว่าครั้งแรกๆ *กิจกรรมนี้สามารถจัดได้ในมุมเสริมประสบการณ์*

 
 
 

เนื้อหาการเรียนการสอนเกี่ยวกับ การเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดส้รางสรรค์

ทฤษฎีการเล่น ของ เพียเจทย์ มี 3 ขั้นดังนี้

1. ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส
-สำรวจ จับต้องวัตถุ
-ยุติลงเมื่อเด็ก 2 ขวบ
2. ขั้นการเล่นสร้างสรรค์
-อายุ 1 ½ - 2 ปี
-การเล่นที่ไม่มีขอบเขตจำกัด
-เล่นด้วยความพอใจมากกว่าคำนึงถึงความเป็นจริง
3. ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์
-2 ขวบขึ้นไป
-สามารถพัฒนาการเต็มที่เมื่ออายุ 3-4 ขวบ
-เกิดขึ้นเมื่อเด็กสามารถจำและสมมติสิ่งของเครื่องเล่นต่างๆ
  ที่ไม่มีอยู่ที่นั่น
-ลักษณะการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ที่นับว่าเป็นพัฒนาการสูงสุด คือ การเล่นบทบาทสมมติ

กิจกรรมต่อมา กิจกรรมเรือน้อยบรรทุกของ


อุปกรณ์ มีดังนี้ ตะเกียบ หนังยาง กระดาษ 

กิจกรรมเรือน้อยบรรทุกของ เป็นกิจกรรมที่ให้เราช่วนกันนำอุปกรณ์ที่ได้มาสร้างเรือและลอยน้ำ เพื่อให้เรือที่เราสร้างสามารถบรรทุกซอสให้ได้มากที่สุด เพื่อนๆสามารถบรรทุกซอสได้ถึง 50 ถุง

 
 
เรือจิ๋วของกลุ่มเรา

เรือของทุกกลุ่ม

 

กิจกรรม ดีไซเนอร์ระดับโลก


เป็นกิจกรรมที่ให้เราใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการดีไซน์ ออกแบบชุดให้เพื่อนใส่ ให้มีความอลังการมากที่สุด โดยใช้หนังสือพิมพ์ในการประดิษฐ์ชุด เป็นกิจกรรมที่ดีเพราะได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของเราและสนุกสนานในการทำกิจกรรมนี้มาก

ชุดของกลุ่มเรา

ชุดของเพื่อนๆในห้อง
 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
กิจกรรมในวันนี้เป็นกิจกรรมกลุ่มที่เราต้องช่วยกันสร้างสรรค์ผลงงานออกมาให้ได้ดีที่สุด จากกิจกรรมเราได้ใช้ความคิดที่หลากหลายมาก ทั้งวิธีการแก้ปัญหา กระบวนการทำงาน ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ดีเราสามารถนำไปใช้ให้เด็กได้เล่นได้ 

การประเมินผล

ประเมินตนเอง 
มาเรียนตรงเวลา ช่วยเพื่อนๆคิดงานในกลุ่ม
ประเมินเพื่อน 
เพื่อนๆทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์หลากหลาย โดยทุกกิจกรรมตั้งใจทำและสนุกสนาน
ประเมินอาจารย์ 
อาจารย์มีการเตรียมเนื้อหาในการเรียนที่เหมาะสมโดยเน้นปฏิบัติ ซึ่งทำให้เราได้คิดประดิษฐ์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ บรรยายกาศในห้องเรียบอบอุ่น สนุกสนาน