วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันจันทร์ ที่ 14 พฤศจิกายน 2559

 (เวลา 13.30-17.30)

ความรู้ที่ได้รับ

ความคิดสร้างสรรค์บูรณาการผ่านกิจกรรมเคลื่อนไหวและจัวหวะ

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

องค์ประกอบ 4 อย่าง คือ

       1. ร่างกาย
       2. พื้นที่
       3. ระดับ
       4. ทิศทาง

รูปแบบแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

      1. การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ เช่น การกระโดด การวิ่ง
      2. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ เช่น ให้เด็กทำเสียงตามพยางค์ชื่อของตนเอง การผงกศีรษะ ตบมือ 

วัตถุประสงค์

     1. เคลื่อนไหวประกอบเพลง
     2. เคลื่อวตามคำบรรยาย
     3. เคลื่อนไหวตามคำสั่ง
     4. เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม
     5. เคลื่อนไหวตามข้อตกลง
     6. เคลื่อนไหวโดยความจำ

การบูรณาการความคิดสร้างสรรค์ 

- เคลื่อนไหวประกอบเพลง >> เด็กได้คิดแสดงออกท่าทางในการเต้นตามจังหวะเพลง
- เคลื่อวตามคำบรรยาย >>> เด็กได้มีวิธีการที่แตกต่างกันในการแสดงออกตามเรื่องราว
- เคลื่อนไหวตามคำสั่ง >>> ใช้ความคิดในการเปลี่ยนทิศทาง หรือท่าทางต่างๆที่มีวิธีการต่างๆกัน
- เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม >>> เด็กที่เป็นผู้นำได้คิดท่าทางสร้างสรรค์ออกมาต่างๆกันในแต่ละคน
- เคลื่อนไหวตามข้อตกลง >>> การคิดท่าทางที่แสดงออกแตกต่างกัน
- เคลื่อนไหวโดยความจำ >>> จะสอดคล้องเกี่ยวกับตั้งแต่ การเคลื่อนไหวพื้นฐาน และเกี่ยวข้องกับ เคลื่อนไหวตามคำสั่ง และ ข้อตกลง


การเคลื่อนไหวโดยใช้ความจำ 

เคลื่อนไหวพื้นฐาน
     
      - เริ่มโดยครูกำหนดสัญญาณ  ถ้าครูเคาะ 1 ครั้ง ให้เด็กๆ เดิน 1 ก้าว
                                                     ถ้าครูเคาะ 2 ครั้ง ให้เด็กๆ เดิน 2 ก้าว
                                                     ถ้าครูเคาะรัวๆเร็วๆ ให้เด็กๆเคลื่อนที่ไปรอบๆห้อง
                                                     แต่ถ้าครูเคาะ 2 ครั้งติดกันให้เด็กๆหยุดอยู่กับที่

เคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหา

       - ถ้าครูพูดว่า "ท้องฟ้า" ให้เด็กๆทำท่านกบินไปมุมท้องฟ้า
       - ถ้าครูพูดว่า "ป่าไม้" ให้เด็กๆทำท่าช้างไปที่มุมป่าไม้
       - ถ้าครูพูดว่า "ทะเล" ให้เด็กๆทำท่าปลา ว่ายไปที่มุมทะเล
       - ถ้าครูพูดว่า "รู" ให้เด็กๆทำท่างู ไปที่มุมรู

ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยการ บีบนวดแขน และ ขา 

 


ภาพบรรยากาศกลุ่มการเคลื่อนไหวประกอบเพลง



ภาพบรรยากาศกลุ่มการเคลื่อนไหวแบบผู้นำ - ผู้ตาม



ภาพบรรยากาศกลุ่มการเคลื่อนไหวตามข้อตกลง


ภาพบรรยากาศกลุ่มการเคลื่อนไหวตามคำสั่ง



*การจินตนาการ ต้องอาศัยประสบการณ์เดิม*
เราสามารถบูรณาการความคิดสร้างสรรค์ได้ในหลากหลายวิชา เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ การส้รางสรรค์ชิ้นงาน เพื่อการนำไปใช้กับประสบการณ์ผ่านการเล่นบทบาทสมมติ



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
รู้และเข้าใจเกี่ยวกับการบูรณาการว่า เราสามารถบูรณาการความคิดสร้างสรรค์ได้ในหลากหลายวิชา โดยครูเป็นผู้ที่คอยส่งเสริมคิดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้อง และหาจุดที่เด็กจะได้ประสบการณ์ความคิดสร้างสารรค์ 
การประเมินผล

ประเมินตนเอง 
ร่วมกิจกรรมกับเพื่อนในกลุ่ม จดเนื้อหาที่เรียน มาเรียนตรงเวลา
ประเมินเพื่อน 
เพื่อนทุกคนตั้งใจร่วมกิจกรรม และคอยฟังคำแนะนำที่อาจารย์ให้ ไม่ส่งเสียดัง
ประเมินอาจารย์ 
อาจารย์ใส่ใจรายละเอียดในการจัดกิจกรรม ให้คำแนะนำทุกขั้นตอน เพื่อในตอนฝึกสอนเราจะสามารถดำเนินกิจกรรมให้ได้ดีที่สุด

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันจันทร์ ที่ 7 พฤศจิกายน 2559

 (เวลา 13.30-17.30)

ความรู้ที่ได้รับ

สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ 

ขวดดักแมลงวัน


อุปกรณ์

1. ขวดน้ำขนาด 1.5 ลิตร จำนวน 2 ขวด
2. ขวดน้ำขนาด 600 มิลลิลตร จำนวน 1 ขวด


3. คัตเตอร์ / กรรไกร


4. อุปกรณ์ตกแต่ง เช่น กระดาษสี สีไม้ ปากกาเมจิก กาว 



ขั้นตอนการทำ

1. นำขวดที่เตรียมไว้ 3 ขวดล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อย 


2. นำขวดขนาด 600 มิลิลิตร มาตัดครึ่ง เก็บส่วนบนไว้ พร้อมตัดให้มีช่องว่างเพื่อเป็นที่ใส่เหยื่อ 


3. จากนั้นนำขวดขนาดใหญ่ขวดที่ 1 มาเจาะรูตำแหน่งด้านล่างเพื่อเชื่อมต่อกับขวดขนาดเล็กที่ตัดไว้ 

  เจาะรูให้เท่ากับฝาขวด

นำขวดขนาดเล็กที่ตัดเตรียมไว้ใส่เข้าไป

4. นำขวดขนาดใหญ่ใบที่ 2 เจาะรูตำแหน่งตรงกลาง เมื่อเจาะแล้วให้นำขวดขนาดใหญ่ใบแรกใส่เข้าไป

 เจาะรูขวดขนาดใหญ่ใบที่ 2 ให้มีขนาดพอดีกับฝาขวด

นำขวดขนาดใหญ่ใบแรกใส่เข้าไป

เมื่อเสร็จแล้วจะออกมาเป็นแบบนี้

5. นำขวดน้ำดักแมลงวันของเรา มาตกแต่งให้สวยงาม


6. เสร็จเรียบร้อย สามารถนำขวดน้ำดักแมลงวันไปใช้ได้



ตัวอย่างของเล่น / ของใช้ที่ประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้

สิ่งประดิษฐ์จากขวดน้ำ

กบเหลาดินสอ

ตราชั่ง


 ที่ใส่แปรงสีฟัน 

 สปิงเกอร์

 ขวดปั้มลูกโป่ง

 ที่ใส่หนังสือรูปหมู


สิ่งประดิษฐ์จากลัง

จักรเย็บผ้า 

ตู้กดน้ำ

 โทรทัศน์

กระดาน

ชั้นเตาแก๊ส

เก้าอี้

ชั้นวางของ

สิ่งประดิษฐ์จากกล่อง

เกมฟุตบอลหรรษา

 ของใช้ภายในบ้าน

กล่องใส่ปลั๊กชาร์ตแบต

การใช้คำถามนำเข้าสู่การประดิษฐ์

-การตั้งโดยประเด็นปัญหา เช่น ถ้าเราจะทำให้แมลงวันในห้องครัวหมดไป เราจะทำอย่างไรได้บ้าง?

-การตั้งโดยประสบการณ์ เช่น ถ้าเราอยากให้เด็กมีประสบการณ์ในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับ ห้องนอน เราจะทำอย่างไรได้บ้าง?


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
เห็นสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ที่หลากหลาย ทำให้เราได้คิดสร้างสรรค์ในผลงานและเป็นแนวทางในการนำผลงานต่างๆไปต่อยอดสอนเด็กๆ โดยรู้ถึงการใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กได้คิดใช้ประสบการณ์เดิม และเลือกส้รางสรรค์ผลงานที่หลากหลาย
การประเมินผล

ประเมินตนเอง 
ตั้งใจจดบันทึกเนื้อหาที่เรียน มาเรียนตรงเวลา
ประเมินเพื่อน 
เพื่อนๆมีความหลากหลายในการสร้างชิ้นงาน ชิ้นงานออกมาสวยงามและเป็นประโยชน์
ประเมินอาจารย์ 
อาจารย์คอยแนะนำบางชิ้นงานที่ยังไม่เหมาะสม คอยดูแล บอกเทคนิคต่างๆให้เราได้นำไปใช้ได้จริง