วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วันพุธ ที่ 30 พฤศจิกายน 2559

 (เวลา 9.00-12.00)

ความรู้ที่ได้รับ

การเรียนการสอนครั้งสุดท้าย อาจารย์พูดคุยให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ พร้อมทั้งแจกสีเมจิกให้
คนละ 1ชุด และแจกรางวัลเด็กดีให้กับคนที่เรียนครบ ตรงเวลา 


รางวัลเด็กดีในเทอมนี้ คือ หนังสือพิมพ์เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช 


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ในการเรียนวิชาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ทำให้เราได้รู้ถึงความหมาย ความสำคัญ วิธีการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้รับความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลาย และเราสามารถบูรณาการกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์ผ่านวิชาต่างๆได้มากมาย การเรียนการสอนในครั้งนี้ทำให้เราได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมเป็นการได้ทดลองทำจริงและสามารถนำไปจัดให้เด็กได้ถูกต้องในอนาคต 
การประเมินผล

ประเมินตนเอง 
ตั้งใจเรียน มาเรียนตรงเวลาสม่ำเสมอ และจดบันทึกเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา
ประเมินเพื่อน 
เพื่อนมีความคิดกันหลากหลายและคิดกิจกรรมออกมาได้ดีแตกต่างกัน ตั้งใจเรียน คอยจดบันทึกเนื้อหาสาระต่างๆ 
ประเมินอาจารย์ 
ในการเรียนวิชานี้ตลอดทั้งเทอม อาจารย์ทั้ง 2 ท่านดูแลเราเป็นอย่างดีคอยเอาใจใส่ ให้ความรู้ คำปรึกษา และคำแนะนำเสมอ บรรยากาศในห้องอบอุ่น เป็นกันเองและสนุกสนาน 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันจันทร์ ที่ 21 พฤศจิกายน 2559

 (เวลา 13.30-17.30)

ความรู้ที่ได้รับ


ความคิดสร้างสรรค์บูรณาการผ่านนิทาน

เราสามารถใช้เพลงในการแบ่งกลุ่มได้ เพื่อให้เกิดการมีไหวพริบและความสนุกสนานมากขึ้น หรือ ให้เด็กได้ทำเสียงต่างๆที่ออกมาจากร่างกาย ให้เป็นเพลง ทำให้เด็กเกิดความคิดว่าจะใช้ร่างกายส่วนไหนที่แตกต่างกันไป




กิจกรรมแต่งนิทาน พร้อมกับแสดง 

การแสดงนิทานมี 3 แบบ

1. ไม่มีคำบรรยาย พูดแสดงพูดเอง
2. บรรยายด้วย ผู้แสดงพูดด้วย
3. บรรยายอย่างเดียว  

     การบรรยายด้วย ผู้แสดงพูดด้วยเป็นวิธีที่ดีที่สุด 


ตัวอย่างนิทาน เรื่อง ก้อนเมฆเพื่อนรัก

ตัวละคร

1. ก้อนเมฆ  
2. ดวงอาทิตย์
3. ลม

เนื้อเรื่อง

             ยามเช้าตรู่พระอาทิตย์กำลังหลับไหลอยู่ในพวังอย่างมีความสุข ทันใดนั้นก้อนเมฆแสนซนก็ตื่นขึ้น ก้อนเมฆพูดว่า "พระอาทิตย์ตื่นได้แล้ว" จากนั้นพระอาทิตย์ค่อยๆเปล่งแสงสีทองประกายขึ้นในยามเช้า (ร้องเพลงพระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง) พระอาทิตย์กับก้อนเมฆออกไปเที่ยวกันบนท้องฟ้าอย่างสนุกสนานทันใดนั้นเอง เจ้าลมบ้าพลังจอมเกเร ก็ไปก่อกวนพระอาทิตย์ และจับตัวพระอาทิตย์ไป ลมบ้าพลังพูด "ในที่สุดพระอาทิตบย์ก็เป็นของข้า"  จากนั้นก้อนเมฆรวมตัวกันไปช่วยพระอาทิตย์ "เราไปช่วยพระอาทิตย์กัน" ก้อนเมฆค่อยๆแปลงร่างรวมตัวกันเป็นฝนขับไล่ลมออกไป (ซู่ๆ ไปสะเจ้าลมจอมเกเร !!) สุดท้ายก้อนเมฆช่วยพระอาทิตย์ออกมากจากเจ้าลมบ้าพลังได้ พระอาทิตย์จึงพูดขอบคุณก้อนเมฆ "ขอบใจมากนะก้อนเมฆเพื่อนรัก"



พระอาทิตย์กับก้อนเมฆตื่นขึ้นในยามเช้า

ลมบ้าพลังจับตัวพระอาทิตย์ไป

ก้อนเมฆรวมตัวกันไปช่วยพระอาทิตย์ได้สำเร็จ

ข้อคิดจากนิทาน สอนเรื่องความสามัคคี การช่วยเหลือซึ่งกันและกันในยามที่เดือดร้อน 


ตัวอย่างนิทานจากเพื่อนๆ

เรื่องการเดินทางของจักรยาน 

ได้ข้อคิดเรื่อง การอยู่ร่วมกัน มารยาทในการใช้รถใช้ถนน ความอดทน


เรื่อง เจ้าเท้าเพื่อนรัก

ได้ข้อคิดเรื่อง ความสามัคคี ความรัก การช่วยเหลือกัน 


เรื่อง ชาวประมงกับปลา

ได้ข้อคิดเรื่อง ความสามัคคี


เรื่อง รองเท้าที่หายไป

ได้ข้อคิดเรื่อง การมีระเบียบวินัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการเก็บของ


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ได้ใช้นิทานเป็นส่วนในการบูรณาการความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก เราสามารถให้เด็กได้ออกมาแสดงท่าทางต่างๆตามเนื้อเรื่อง ทำให้เด็กได้คิดจินตนาการท่าทางสมมติตัวเองเป็นตัวละครนั้นๆ ได้ใช้ความคิดที่หลากหลายโดยคิดอย่างอิสระ
การประเมินผล

ประเมินตนเอง 
มาเรียนตรงเวลา ร่วมกิจกรรมกับเพื่อนในกลุ่มได้ดี แสดงเป็นพระอาทิตย์
ประเมินเพื่อน 
เพื่อนร่วมกิจกรรมทุกกลุ่ม สนุกสนานในกิจกรรม และคิดเรื่องได้มีข้อคิดและคุณธรรม
ประเมินอาจารย์ 
อาจารย์คอยให้คำแนะนำ มีเทคนิคต่างๆคอยสอน ให้เราได้คิดและสร้างสรรค์เรื่องราวออกมาได้หลากหลายและสนุกสนาน

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันจันทร์ ที่ 14 พฤศจิกายน 2559

 (เวลา 13.30-17.30)

ความรู้ที่ได้รับ

ความคิดสร้างสรรค์บูรณาการผ่านกิจกรรมเคลื่อนไหวและจัวหวะ

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

องค์ประกอบ 4 อย่าง คือ

       1. ร่างกาย
       2. พื้นที่
       3. ระดับ
       4. ทิศทาง

รูปแบบแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

      1. การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ เช่น การกระโดด การวิ่ง
      2. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ เช่น ให้เด็กทำเสียงตามพยางค์ชื่อของตนเอง การผงกศีรษะ ตบมือ 

วัตถุประสงค์

     1. เคลื่อนไหวประกอบเพลง
     2. เคลื่อวตามคำบรรยาย
     3. เคลื่อนไหวตามคำสั่ง
     4. เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม
     5. เคลื่อนไหวตามข้อตกลง
     6. เคลื่อนไหวโดยความจำ

การบูรณาการความคิดสร้างสรรค์ 

- เคลื่อนไหวประกอบเพลง >> เด็กได้คิดแสดงออกท่าทางในการเต้นตามจังหวะเพลง
- เคลื่อวตามคำบรรยาย >>> เด็กได้มีวิธีการที่แตกต่างกันในการแสดงออกตามเรื่องราว
- เคลื่อนไหวตามคำสั่ง >>> ใช้ความคิดในการเปลี่ยนทิศทาง หรือท่าทางต่างๆที่มีวิธีการต่างๆกัน
- เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม >>> เด็กที่เป็นผู้นำได้คิดท่าทางสร้างสรรค์ออกมาต่างๆกันในแต่ละคน
- เคลื่อนไหวตามข้อตกลง >>> การคิดท่าทางที่แสดงออกแตกต่างกัน
- เคลื่อนไหวโดยความจำ >>> จะสอดคล้องเกี่ยวกับตั้งแต่ การเคลื่อนไหวพื้นฐาน และเกี่ยวข้องกับ เคลื่อนไหวตามคำสั่ง และ ข้อตกลง


การเคลื่อนไหวโดยใช้ความจำ 

เคลื่อนไหวพื้นฐาน
     
      - เริ่มโดยครูกำหนดสัญญาณ  ถ้าครูเคาะ 1 ครั้ง ให้เด็กๆ เดิน 1 ก้าว
                                                     ถ้าครูเคาะ 2 ครั้ง ให้เด็กๆ เดิน 2 ก้าว
                                                     ถ้าครูเคาะรัวๆเร็วๆ ให้เด็กๆเคลื่อนที่ไปรอบๆห้อง
                                                     แต่ถ้าครูเคาะ 2 ครั้งติดกันให้เด็กๆหยุดอยู่กับที่

เคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหา

       - ถ้าครูพูดว่า "ท้องฟ้า" ให้เด็กๆทำท่านกบินไปมุมท้องฟ้า
       - ถ้าครูพูดว่า "ป่าไม้" ให้เด็กๆทำท่าช้างไปที่มุมป่าไม้
       - ถ้าครูพูดว่า "ทะเล" ให้เด็กๆทำท่าปลา ว่ายไปที่มุมทะเล
       - ถ้าครูพูดว่า "รู" ให้เด็กๆทำท่างู ไปที่มุมรู

ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยการ บีบนวดแขน และ ขา 

 


ภาพบรรยากาศกลุ่มการเคลื่อนไหวประกอบเพลง



ภาพบรรยากาศกลุ่มการเคลื่อนไหวแบบผู้นำ - ผู้ตาม



ภาพบรรยากาศกลุ่มการเคลื่อนไหวตามข้อตกลง


ภาพบรรยากาศกลุ่มการเคลื่อนไหวตามคำสั่ง



*การจินตนาการ ต้องอาศัยประสบการณ์เดิม*
เราสามารถบูรณาการความคิดสร้างสรรค์ได้ในหลากหลายวิชา เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ การส้รางสรรค์ชิ้นงาน เพื่อการนำไปใช้กับประสบการณ์ผ่านการเล่นบทบาทสมมติ



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
รู้และเข้าใจเกี่ยวกับการบูรณาการว่า เราสามารถบูรณาการความคิดสร้างสรรค์ได้ในหลากหลายวิชา โดยครูเป็นผู้ที่คอยส่งเสริมคิดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้อง และหาจุดที่เด็กจะได้ประสบการณ์ความคิดสร้างสารรค์ 
การประเมินผล

ประเมินตนเอง 
ร่วมกิจกรรมกับเพื่อนในกลุ่ม จดเนื้อหาที่เรียน มาเรียนตรงเวลา
ประเมินเพื่อน 
เพื่อนทุกคนตั้งใจร่วมกิจกรรม และคอยฟังคำแนะนำที่อาจารย์ให้ ไม่ส่งเสียดัง
ประเมินอาจารย์ 
อาจารย์ใส่ใจรายละเอียดในการจัดกิจกรรม ให้คำแนะนำทุกขั้นตอน เพื่อในตอนฝึกสอนเราจะสามารถดำเนินกิจกรรมให้ได้ดีที่สุด

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันจันทร์ ที่ 7 พฤศจิกายน 2559

 (เวลา 13.30-17.30)

ความรู้ที่ได้รับ

สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ 

ขวดดักแมลงวัน


อุปกรณ์

1. ขวดน้ำขนาด 1.5 ลิตร จำนวน 2 ขวด
2. ขวดน้ำขนาด 600 มิลลิลตร จำนวน 1 ขวด


3. คัตเตอร์ / กรรไกร


4. อุปกรณ์ตกแต่ง เช่น กระดาษสี สีไม้ ปากกาเมจิก กาว 



ขั้นตอนการทำ

1. นำขวดที่เตรียมไว้ 3 ขวดล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อย 


2. นำขวดขนาด 600 มิลิลิตร มาตัดครึ่ง เก็บส่วนบนไว้ พร้อมตัดให้มีช่องว่างเพื่อเป็นที่ใส่เหยื่อ 


3. จากนั้นนำขวดขนาดใหญ่ขวดที่ 1 มาเจาะรูตำแหน่งด้านล่างเพื่อเชื่อมต่อกับขวดขนาดเล็กที่ตัดไว้ 

  เจาะรูให้เท่ากับฝาขวด

นำขวดขนาดเล็กที่ตัดเตรียมไว้ใส่เข้าไป

4. นำขวดขนาดใหญ่ใบที่ 2 เจาะรูตำแหน่งตรงกลาง เมื่อเจาะแล้วให้นำขวดขนาดใหญ่ใบแรกใส่เข้าไป

 เจาะรูขวดขนาดใหญ่ใบที่ 2 ให้มีขนาดพอดีกับฝาขวด

นำขวดขนาดใหญ่ใบแรกใส่เข้าไป

เมื่อเสร็จแล้วจะออกมาเป็นแบบนี้

5. นำขวดน้ำดักแมลงวันของเรา มาตกแต่งให้สวยงาม


6. เสร็จเรียบร้อย สามารถนำขวดน้ำดักแมลงวันไปใช้ได้



ตัวอย่างของเล่น / ของใช้ที่ประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้

สิ่งประดิษฐ์จากขวดน้ำ

กบเหลาดินสอ

ตราชั่ง


 ที่ใส่แปรงสีฟัน 

 สปิงเกอร์

 ขวดปั้มลูกโป่ง

 ที่ใส่หนังสือรูปหมู


สิ่งประดิษฐ์จากลัง

จักรเย็บผ้า 

ตู้กดน้ำ

 โทรทัศน์

กระดาน

ชั้นเตาแก๊ส

เก้าอี้

ชั้นวางของ

สิ่งประดิษฐ์จากกล่อง

เกมฟุตบอลหรรษา

 ของใช้ภายในบ้าน

กล่องใส่ปลั๊กชาร์ตแบต

การใช้คำถามนำเข้าสู่การประดิษฐ์

-การตั้งโดยประเด็นปัญหา เช่น ถ้าเราจะทำให้แมลงวันในห้องครัวหมดไป เราจะทำอย่างไรได้บ้าง?

-การตั้งโดยประสบการณ์ เช่น ถ้าเราอยากให้เด็กมีประสบการณ์ในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับ ห้องนอน เราจะทำอย่างไรได้บ้าง?


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
เห็นสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ที่หลากหลาย ทำให้เราได้คิดสร้างสรรค์ในผลงานและเป็นแนวทางในการนำผลงานต่างๆไปต่อยอดสอนเด็กๆ โดยรู้ถึงการใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กได้คิดใช้ประสบการณ์เดิม และเลือกส้รางสรรค์ผลงานที่หลากหลาย
การประเมินผล

ประเมินตนเอง 
ตั้งใจจดบันทึกเนื้อหาที่เรียน มาเรียนตรงเวลา
ประเมินเพื่อน 
เพื่อนๆมีความหลากหลายในการสร้างชิ้นงาน ชิ้นงานออกมาสวยงามและเป็นประโยชน์
ประเมินอาจารย์ 
อาจารย์คอยแนะนำบางชิ้นงานที่ยังไม่เหมาะสม คอยดูแล บอกเทคนิคต่างๆให้เราได้นำไปใช้ได้จริง